วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์และระบบเครือคอมพิวเตอร์

ขอบคุณภาพจาก:https://krucarem32.wordpress.com/
คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ประเภทของคอมพิวเตอร์
  • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
  • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
  • มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
  • ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)
  • โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
  • เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)
  • อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook)
  • แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร 
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif
เพิ่มคำอธิบายภาพขอบคุณภาพจาก:http://www.school.net.th/
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
อุปกรณ์ในเครือข่าย
  1. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC)
  2. โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator)
  3. ฮับ ( Hub) 
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/bus_topology.jpg
ขอบคุณภาพจาก:http://www.school.net.th/


2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg
ขอบคุณภาพจาก:http://www.school.net.th/
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG
ขอบคุณภาพจาก:http://www.school.net.th/
ที่มา:
   



วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ข้อสอบ o-net คอมพิวเตอร์ 5 ข้อ 

สวัสดีครับทุกคน วันนี้ผมจะมานำเสนอตัวอย่างข้อสอบ O-NET คอมพิวเตอร์ ที่มีประโยชน์ให้กับเพื่อนๆทุกคนได้รับรู้นะครับ
ขอบคุณภาพจาก:http://teen.mthai.com/
O-NET คืออะไร ? มีความสำคัญยังไง ?
O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. ชื่อเต็มๆ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
ซึ่งการสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
  6. สุขศึกษาและพลศึกษา
  7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  8. ศิลปะ
และนอกจาก O-NET จะใช้เป็นตัววัดระดับการศึกษาของเด็กไทยแล้ว ยังเป็นคะแนนที่น้องๆระดับชั้นต่างๆต้องนำไปใช้ในการสมัครเข้าเรียนระดับชั้นต่อไปด้วย ก็คือ น้องๆชั้น ป.6 และ ม.3 ต้องใช้คะแนน O-NET สมัครเข้าเรียน ม.1 และ ม. 4 โดยให้น้ำหนัก 20% (โดยจะมีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป) และสำหรับน้อง ม.6 ใช้คะแนน O-NET ในการสมัคร Admission 30%
และก็คงมีคำถามว่าแล้วถ้าเป็นเด็กอินเตอร์ เด็กซิ่ล เด็กนอกละ ต้องสอบไหม! ก็ต้องสอบเหมือนกันถ้าโรงเรียนอินเตอร์แห่งนั้นสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ สทศ.ก็จะทำการจัดสอบให้ และถ้าเป็นเด็กนอกที่ต้องการสอบ O-NET ก็ต้องทำการสอบเทียบ ม.6 ก่อน และต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการด้วย ซึ่งก็สามารถมายื่นสมัครสอบได้ในช่วงเดือน พฤศจิกายนของทุกปี
สำหรับการสอบ O-NET นี้น้องๆไม่ต้องเสียค่าสอบอะไรเลย และจะทำการสอบกันทุกเดือนกุมภาพันธ์ และจะประกาศผลประมาณปลายเดือนมีนาคมของทุกปี
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า o-net นั้นมีความสำคัญอย่างไร ที่นี้มาลองทำข้อสอบดูบ้าง
< ข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ จะอยู่ในหมวด การงานอาชีพและเทคโนโลยี >
ขอบคุณภาพจาก:http://teen.mthai.com/
1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา
ประเภท  Smartphone.
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian
เฉลยข้อ  1
2.ข้อใดเป้นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้า
หาข้อมูลจากอินเทอร์เนตมาทำรายงาน.
1.คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ
เฉลยข้อ  4
3.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                  4.  3G    Ethernet
เฉลยข้อ  2
4.ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิด
เฉลยข้อ  3 
5.ระบบกระดานสนทนาหรือเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีความต้องการดังนี้
  • ต้องให้ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้โต้ตอบกันได้โดยผู้ใช้ต้องแสดงตัวตน(ล็อกอิน)เพื่อเข้าระบบก่อน
  • ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้หรือเข้าไปตอบกระทู้ที่ตั้งไว้แล้วได้
  • ระบบจะบันทึกชื่อผู้ตั้งและผู้ตอบไว้ด้วย
ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง.
1.ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อ
ผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่
ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้
ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย
เฉลยข้อ  4

ที่มา:
https://krupaga.wordpress.com/

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ย้อนรอยคนเหล็ก รื้อความจำกับ TERMINATOR 1-4

 พวกที่ชอบดูหนังเเนวเเอคขัน sci-fi ก็ไม่ควรพลาด เรื่อง"คนเหล็ก"หรือ"TERMINATOR" เป็นเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างคนกับเครื่องจักรสังหาร เป็นหนังที่ได้รับความนิยมมามากมายตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

The Terminator (1984)
ขอบคุณภาพจาก:http://1.bp.blogspot.com/

ภาคแรกของหนังคนเหล็ก เริ่มเหตุการณ์เมื่อบริษัทสกายเนตได้ส่งหุ่นยนต์สังหารรุ่น T-800 (อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์) เพื่อกลับมาฆ่าซาร่าห์ คอนเนอร์ผู้เป็นแม่ของจอห์น คอนเนอร์บุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในการกอบกู้โลกในอนาคต ในขณะที่โลกอนาคตตัวจอห์น คอนเนอร์เองก็ได้ส่งนายทหารไคลด์ รีสกลับมายังเวลาปัจจุบันเพื่อปกป้องซาร่าห์ แต่เหตุการณ์ในหนังภาคแรกจบลงที่ไคลด์ รีสตายและซาร่าห์รอดชีวิต

Terminator 2 : Judgment Day (1991)
ขอบคุณภาพจาก:http://ts3.mm.bing.net

หลังจากเหตุการณ์ในภาคแรกนั้นซาร่าห์ คอนเนอร์ผ่านชีวิตที่ยากลำบาก เธอยังถูกหลอกหลอนด้วยภาพหุ่นยนต์ตามล่า เธอจึงไปเรียนฝึกรบจากทหารรับจ้างในแม็กซิโกและฝึกให้ลูกชายเตรียมความพร้อมตลอดเวลา แต่สกายเน็ตยังไม่หยุดตามล่าเธอ พวกมันส่งหุ่น T-1000 ซึ่งหลอมเหลวเปลี่ยนรูปร่างเป็นอะไรก็ได้ ในขณะที่กลุ่มผู้รอดชีวิตจากโลกอนาคตได้ส่งหุ่น T-800 (อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์) ที่ได้ตั้งโปรแกรมใหม่มาให้คุ้มครองจอห์นและซาร่าห์ เรื่องราวสิ้นสุดที่ตัวเอกสามารถถล่มห้องทดลองหุ่นต้นแบบหุ่นสังหารได้สำเร็จและความหวังที่ว่าโครงการสกายเน็ตจะไม่เกิดขึ้น

Terminator 3 : Rise of the Machine (2003) 
ขอบคุณภาพจาก:http://www.englishmoviez.com/

หลังจากเหตุการณ์ในภาค 2 จอห์น คอนเนอร์กลายเป็นบุคคลไร้บ้าน ไม่มีประวัติใดๆที่ชี้ชัดถึงการมีตัวตน แต่แล้ววันหนึ่งหุ่นนักฆ่า T-X (คริสเตนน่า โลเคน) หุ่นสาวสวยซุปเปอร์โมเดลที่มีอำนาจทำลายล้างสูง เธอไม่ได้ถูกส่งมาเพื่อกำจัดจอห์นคนเดียว แต่ยังมีสัตวแพทย์สาวที่ชื่อ เคต บรูว์สเตอร์ (แคลร์ เดนส์) ที่จะเป็นกองกำลังสำคัญในโลกอนาคต ความหวังเดียวที่จะรอดชีวิตไปได้ ก็คือการจำลองหุ่นไซบอร์ก T-101 (อาร์โนลด์ ชวาสเซเนเกอร์) มาต่อกรกับหุ่น T-X เรื่องราวในหนังภาคนี้จบลงที่จอห์นและเคตเดินทางไปยังยอดเขาคริสตัลเพื่อปิดระบบสกายเน็ต แต่กลายเป็นว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นแค่หลุมหลบภัย พวกเขาไม่สามารถหยุดยั้งสกายเนตและวันพิพากษาได้

Terminator Salvation ( 2009 )
ขอบคุณภาพจาก:http://www.filmaffinity.com/

ปี 2018 วันอวสานโลกได้ผ่านไป มนุษย์ที่รอดชีวิตต่างอยู่กันอย่างยากลำบาก กลุ่มผู้ต่อต้านได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับสกายเนต จอห์น คอนเนอร์(คริสเตียน เบล) คือความหวังเดียวของมวลมนุษยชาติ แต่แล้วเมื่อมาร์คัส ไรท์(แซท เวิร์ทธิงตัน) คนแปลกหน้าจากอดีต ผู้ซึ่งความทรงจำสุดท้ายของเขาคือการรับโทษประหาร เรื่องราวในภาคนี้มาร์คัสได้บุกไปยังฐานทัพของสกายเน็ตและพบความจริงที่ว่าเขาถูกส่งมาเป็นนกต่อให้กลุ่มต่อต้านเผยฐานที่มั่น จอห์นบุกเข้าฐานของสกายเน็ตเพื่อช่วยไคล์ รีสแต่นั่นทำให้เขาถูกหุ่น T-800 ทำร้ายจนเกือบตาย แต่มาร์คัสเลือกจะเสียสละหัวใจเพื่อช่วยให้จอห์น คอนเนอร์มีชีวิตต่อไปในการต่อสู้กับสกายเนต 

ที่มา:http://movie.sanook.com/51939/